MENU
MENU
หน้าหลัก
๙ สถานที่สำคัญ
๖ โซนของวัด
การเยี่ยมชม
หนังสือนำเที่ยว: The Vessel of Light
ตารางเวลาและระเบียบปฏิบัติ
เกี่ยวกับวัด
ประวัติและกิจกรรมประจำปี
ภาพพิธีกรรม
งานสมโภชน์มกุฏพันธนเจดีย์
งานทอดกฐินประจำปี
23 ตุลาคม 2564
21 ตุลาคม 2565
งานอายุวัฒนมงคล 79 ปี
งานพิธีพระราชทานพัดยศ
พิธีวันสงกรานต์ 2565
จิตอาสาพระราชทาน
พิธีหล่อพระกริ่งพรหมวัชรินทร์
งานฉลองอายุศม์ธรรม ครบ 80 ปี
พิธีอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระกุศล
พิธีมอบรางวัลโครงการประกวดเรียงความประจำปี 2566
ธรรมยาตรา
ปฏิทิน 2023
คลังธรรมะ
เสียงเทศนาพระพรหมวชิรากร
บทสวดมนต์
บทความธรรมะ
พุทธสาวก
ปัญหาของผู้สงบ
วิดีโอธรรมะ
คลังธรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
หนังสือธรรมะพระพรหมวชิรากร
ร่วมทำบุญ
ไทย
English
ไทย
โซนที่ ๓
พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)
โซนนี้ตั้งอยู่บนยอดของเนินเขาลูกที่ ๑ มีปูชนียวัตถุน่าสนใจ ๒ ประการ
พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)
พระภควัมบดี เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีหน้า ปางสมาธิ มีความสูง ๑๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๕ เมตร ประกอบด้วยประภามณฑล และฉัตรทองอีก ๙ ชั้น สูงประมาณ ๔ เมตร รวมเป็น ๑๔ เมตร ลักษณะของพระพุทธรูปแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม ๔ ข้อ
๑. พระภควัมบดีประทับบนกลีบบัว ๓ ชั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา ข้อปฏิบัติที่ควรพึงศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความหลุดพ้น
๒. องค์พระที่ไม่มีใบหน้าเป็นเครื่องเตือนใจให้เราทำดีโดยไม่เอาหน้า ทำดีเพราะเป็นความดี
๓. องค์พระภควัมบดีมีลักษณะกลมใหญ่ แสดงถึงความความบริบูรณ์ในธรรม ชื่อ ภควัมบดีนี้หมายถึงผู้ที่มีความงดงามในธรรม คำว่า ภควา สื่อถึงบุคคลที่มีความโชคดี โชคในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับความมั่งคั่งในทรัพย์ แต่หมายถึงผู้อุดมด้วยธรรม และความสง่างามแห่งพุทธธรรม ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสำรวม และพิจารณาอายตนะด้วย สติสัมปชัญญะ เพื่อไม่หลงไปในสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนกิเลส
๔. พระพุทธรูปองค์นี้ถูกออกแบบให้เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สื่อความหมายถึงการไม่มีหน้าไม่มีหลัง
ธรรมจักรคู่
ปริศนาธรรมของพระภควัมบดีสัมพันธ์กับธรรมจักรคู่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขององค์พระไม่มีหน้า ธรรมจักรคู่นี้เป็นสัญลักษณ์พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่พระพรหมวชิรากร (ประธานก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ) ได้เพิ่มเติมเอกลักษณ์พิเศษดังนี้
เมื่อสังเกตธรรมจักร จะเห็นว่าธรรมจักรทั้งคู่ประกอบด้วยวงแหวนต่างสี วงแหวนรอบนอกเป็นสีดำ ส่วนวงแหวนตรงกลางเป็นสีขาว วงแหวนสีดำด้านนอกสื่อถึงความทุกข์ แสดงถึงสภาวะของจักรวาลก่อนที่คำสอนของพระพุทธเจ้าจะปรากฏ ธรรมะอุบัติขึ้นท่ามกลางความทุกข์ระทมของสัตว์โลก แต่ในฐานะมนุษย์ เมื่อประสบปัญหา เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในสภาวะทุกข์ ด้วยการน้อมปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งนำไปสู่ความสว่าง สีขาวรอบธรรมจักรจึงสื่อถึงความสว่าง ความดี บุญกุศลที่ก่อเกิดคุณประโยชน์ การพ้นทุกข์ จากการปฏิบัติตามธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเราทุกคนควรยึดเป็นจุดหมาย เมื่อความชั่วร้ายและกิเลสทั้งหลายถูกลดละ โดยการเข้าถึงอริยสัจ ๔ ความมืดมนก็จะหมดสิ้นไป สุดท้ายผู้ปฏิบัติจะไปถึงสภาวะแห่งสุญญตา ความหลุดพ้น ซึ่งแสดงด้วยภาพอากาศที่ลอยเหนือธรรมจักรทั้งคู่ เหนือวงแหวนสีขาวและดำ
พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)
พระภควัมบดี เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีหน้า ปางสมาธิ มีความสูง ๑๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๕ เมตร ประกอบด้วยประภามณฑล และฉัตรทองอีก ๙ ชั้น สูงประมาณ ๔ เมตร รวมเป็น ๑๔ เมตร ลักษณะของพระพุทธรูปแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม ๔ ข้อ
๑. พระภควัมบดีประทับบนกลีบบัว ๓ ชั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา ข้อปฏิบัติที่ควรพึงศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความหลุดพ้น
๒. องค์พระที่ไม่มีใบหน้าเป็นเครื่องเตือนใจให้เราทำดีโดยไม่เอาหน้า ทำดีเพราะเป็นความดี
๓. องค์พระภควัมบดีมีลักษณะกลมใหญ่ แสดงถึงความความบริบูรณ์ในธรรม ชื่อ ภควัมบดีนี้หมายถึงผู้ที่มีความงดงามในธรรม คำว่า ภควา สื่อถึงบุคคลที่มีความโชคดี โชคในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับความมั่งคั่งในทรัพย์ แต่หมายถึงผู้อุดมด้วยธรรม และความสง่างามแห่งพุทธธรรม ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสำรวม และพิจารณาอายตนะด้วย สติสัมปชัญญะ เพื่อไม่หลงไปในสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนกิเลส
๔. พระพุทธรูปองค์นี้ถูกออกแบบให้เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สื่อความหมายถึงการไม่มีหน้าไม่มีหลัง
ธรรมจักรคู่
ปริศนาธรรมของพระภควัมบดีสัมพันธ์กับธรรมจักรคู่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขององค์พระไม่มีหน้า ธรรมจักรคู่นี้เป็นสัญลักษณ์พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่พระพรหมวชิรากร (ประธานก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ) ได้เพิ่มเติมเอกลักษณ์พิเศษดังนี้
เมื่อสังเกตธรรมจักร จะเห็นว่าธรรมจักรทั้งคู่ประกอบด้วยวงแหวนต่างสี วงแหวนรอบนอกเป็นสีดำ ส่วนวงแหวนตรงกลางเป็นสีขาว วงแหวนสีดำด้านนอกสื่อถึงความทุกข์ แสดงถึงสภาวะของจักรวาลก่อนที่คำสอนของพระพุทธเจ้าจะปรากฏ ธรรมะอุบัติขึ้นท่ามกลางความทุกข์ระทมของสัตว์โลก แต่ในฐานะมนุษย์ เมื่อประสบปัญหา เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในสภาวะทุกข์ ด้วยการน้อมปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งนำไปสู่ความสว่าง สีขาวรอบธรรมจักรจึงสื่อถึงความสว่าง ความดี บุญกุศลที่ก่อเกิดคุณประโยชน์ การพ้นทุกข์ จากการปฏิบัติตามธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเราทุกคนควรยึดเป็นจุดหมาย เมื่อความชั่วร้ายและกิเลสทั้งหลายถูกลดละ โดยการเข้าถึงอริยสัจ ๔ ความมืดมนก็จะหมดสิ้นไป สุดท้ายผู้ปฏิบัติจะไปถึงสภาวะแห่งสุญญตา ความหลุดพ้น ซึ่งแสดงด้วยภาพอากาศที่ลอยเหนือธรรมจักรทั้งคู่ เหนือวงแหวนสีขาวและดำ
Copyrighted Siri Wattana Wisut Forest Monastery of Her Royal Highness
|
Theme
Quail