โซนที่ ๒
วิหาร

โซนวิหารตั้งอยู่ที่จุดกึ่งกลางของเนินเขาลูกแรกของภูเขาพระโพธิสัตว์ มีสถานที่น่าสนใจ ๔ จุด ดังนี้

วิหารนาคปรก (วิหาร ส.ธ.)

วิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันประสูติของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ นอกจากพระนาคปรกที่เป็นพระประธานแล้ว ยังมีพระพุทธรูปประจำวันเกิด, พระพุทธรูปปางเกศธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ วิหารนี้สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๓๖ พรรษา ด้วยเหตุนี้จึงมีพระนามาภิไธยย่อของพระนามสมเด็จ ฯ (ส.ธ.) เหนือประตูทางเข้า

วิหารเทพสถิต (วิหาร ส.ว.)

วิหารเทพสถิตเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ และเทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ พระองค์ ประกอบด้วย
๑. พระเกตุเทพ
๒. พระอาทิตย์เทพ
๓. พระจันทร์เทพ
๔. พระอังคารเทพ
๕. พระราหูเทพ
๖. พระพุธเทพ
๗. พระพฤหัสบดีเทพ
๘. พระศุกร์เทพ
๙. พระเสาร์เทพ
วิหารเทพสถิตสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ พรรษา ด้วยเหตุนี้จึงมีพระนามาภิไธยย่อของพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ส.ว.) เหนือประตูทางเข้า

ห้องกุหลาบ

ห้องกุหลาบตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ส.ธ. สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัย และปกป้องประเทศจากลัทธิจักรวรรดินิยม ด้วยพระวิสัยทัศน์ทางการทูตที่กว้างไกล และพระราชดำริที่ก้าวหน้า เนื่องจากกุหลาบเป็นดอกไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ห้องนี้จึงเต็มไปด้วยลายปูนปั้นรูปดอกกุหลาบประดิษฐ์อันวิจิตร นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจสำคัญต่าง ๆ ของพระปิยมหาราช ทำให้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย และพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย

ห้องแม่ธาตุทั้ง ๕

ห้องนี้ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารเทพสถิต เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นแม่ธาตุทั้ง ๕
๑. แม่พระธรณี เทพีประจำธาตุดิน ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้
นามว่า พระกกุสันโธ ประดิษฐานอยู่บนมวยผม

๒. แม่พระคงคา เทพีประจำธาตุน้ำ ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ แห่งภัทรกัปนี้
นามว่า พระโกนาคม ประดิษฐานอยู่บนมวยผม

๓. แม่พระพาย เทพีประจำธาตุลม ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้
นามว่า พระกัสสปะ ประดิษฐานอยู่บนมวยผม

๔. แม่พระเพลิง เทพีประจำธาตุไฟ ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้
นามว่า พระสมณโคดม ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๕. แม่พระโพสพ เทพีแห่งข้าวและการเกษตร ผู้มีพระพุทธเจ้าในอนาคต
นามว่า พระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๑. พระเกตุเทพ
๒. พระอาทิตย์เทพ
๓. พระจันทร์เทพ
๔. พระอังคารเทพ
๕. พระราหูเทพ
๖. พระพุธเทพ
๗. พระพฤหัสบดีเทพ
๘. พระศุกร์เทพ
๙. พระเสาร์เทพ
วิหารเทพสถิตสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ พรรษา ด้วยเหตุนี้จึงมีพระนามาภิไธยย่อของพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ส.ว.) เหนือประตูทางเข้า

ห้องกุหลาบ

ห้องกุหลาบตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ส.ธ. สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัย และปกป้องประเทศจากลัทธิจักรวรรดินิยม ด้วยพระวิสัยทัศน์ทางการทูตที่กว้างไกล และพระราชดำริที่ก้าวหน้า เนื่องจากกุหลาบเป็นดอกไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ห้องนี้จึงเต็มไปด้วยลายปูนปั้นรูปดอกกุหลาบประดิษฐ์อันวิจิตร นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจสำคัญต่าง ๆ ของพระปิยมหาราช ทำให้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย และพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย

ห้องแม่ธาตุทั้ง ๕

ห้องนี้ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารเทพสถิต เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นแม่ธาตุทั้ง ๕
๑. แม่พระธรณี เทพีประจำธาตุดิน ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้ นามว่า พระกกุสันโธ ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๒. แม่พระคงคา เทพีประจำธาตุน้ำ ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ แห่งภัทรกัปนี้ นามว่า พระโกนาคม ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๓. แม่พระพาย เทพีประจำธาตุลม ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้ นามว่า พระกัสสปะ ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๔. แม่พระเพลิง เทพีประจำธาตุไฟ ผู้มีพระพุทธเจ้าองค์แห่งภัทรกัปนี้ นามว่า พระสมณโคดม ประดิษฐานอยู่บนมวยผม
๕. แม่พระโพสพ เทพีแห่งข้าวและการเกษตร ผู้มีพระพุทธเจ้าในอนาคต นามว่า พระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานอยู่บนมวยผม