โซนที่ ๓
พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)

โซนนี้ตั้งอยู่บนยอดของเนินเขาลูกที่ ๑ มีปูชนียวัตถุน่าสนใจ ๒ ประการ

พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)

พระภควัมบดี เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีหน้า ปางสมาธิ มีความสูง ๑๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๕ เมตร ประกอบด้วยประภามณฑล และฉัตรทองอีก ๙ ชั้น สูงประมาณ ๔ เมตร รวมเป็น ๑๔ เมตร ลักษณะของพระพุทธรูปแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม ๔ ข้อ
๑. พระภควัมบดีประทับบนกลีบบัว ๓ ชั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา ข้อปฏิบัติที่ควรพึงศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความหลุดพ้น
๒. องค์พระที่ไม่มีใบหน้าเป็นเครื่องเตือนใจให้เราทำดีโดยไม่เอาหน้า ทำดีเพราะเป็นความดี
๓. องค์พระภควัมบดีมีลักษณะกลมใหญ่ แสดงถึงความความบริบูรณ์ในธรรม ชื่อ ภควัมบดีนี้หมายถึงผู้ที่มีความงดงามในธรรม คำว่า ภควา สื่อถึงบุคคลที่มีความโชคดี โชคในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับความมั่งคั่งในทรัพย์ แต่หมายถึงผู้อุดมด้วยธรรม และความสง่างามแห่งพุทธธรรม ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสำรวม และพิจารณาอายตนะด้วย สติสัมปชัญญะ เพื่อไม่หลงไปในสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนกิเลส
๔. พระพุทธรูปองค์นี้ถูกออกแบบให้เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สื่อความหมายถึงการไม่มีหน้าไม่มีหลัง

ธรรมจักรคู่

ปริศนาธรรมของพระภควัมบดีสัมพันธ์กับธรรมจักรคู่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขององค์พระไม่มีหน้า ธรรมจักรคู่นี้เป็นสัญลักษณ์พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่พระพรหมวชิรากร (ประธานก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ) ได้เพิ่มเติมเอกลักษณ์พิเศษดังนี้
เมื่อสังเกตธรรมจักร จะเห็นว่าธรรมจักรทั้งคู่ประกอบด้วยวงแหวนต่างสี วงแหวนรอบนอกเป็นสีดำ ส่วนวงแหวนตรงกลางเป็นสีขาว วงแหวนสีดำด้านนอกสื่อถึงความทุกข์ แสดงถึงสภาวะของจักรวาลก่อนที่คำสอนของพระพุทธเจ้าจะปรากฏ ธรรมะอุบัติขึ้นท่ามกลางความทุกข์ระทมของสัตว์โลก แต่ในฐานะมนุษย์ เมื่อประสบปัญหา เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในสภาวะทุกข์ ด้วยการน้อมปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งนำไปสู่ความสว่าง สีขาวรอบธรรมจักรจึงสื่อถึงความสว่าง ความดี บุญกุศลที่ก่อเกิดคุณประโยชน์ การพ้นทุกข์ จากการปฏิบัติตามธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเราทุกคนควรยึดเป็นจุดหมาย เมื่อความชั่วร้ายและกิเลสทั้งหลายถูกลดละ โดยการเข้าถึงอริยสัจ ๔ ความมืดมนก็จะหมดสิ้นไป สุดท้ายผู้ปฏิบัติจะไปถึงสภาวะแห่งสุญญตา ความหลุดพ้น ซึ่งแสดงด้วยภาพอากาศที่ลอยเหนือธรรมจักรทั้งคู่ เหนือวงแหวนสีขาวและดำ

พระภควัมบดี (พระไม่มีหน้า)

พระภควัมบดี เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีหน้า ปางสมาธิ มีความสูง ๑๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๕ เมตร ประกอบด้วยประภามณฑล และฉัตรทองอีก ๙ ชั้น สูงประมาณ ๔ เมตร รวมเป็น ๑๔ เมตร ลักษณะของพระพุทธรูปแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม ๔ ข้อ
๑. พระภควัมบดีประทับบนกลีบบัว ๓ ชั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา ข้อปฏิบัติที่ควรพึงศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความหลุดพ้น
๒. องค์พระที่ไม่มีใบหน้าเป็นเครื่องเตือนใจให้เราทำดีโดยไม่เอาหน้า ทำดีเพราะเป็นความดี
๓. องค์พระภควัมบดีมีลักษณะกลมใหญ่ แสดงถึงความความบริบูรณ์ในธรรม ชื่อ ภควัมบดีนี้หมายถึงผู้ที่มีความงดงามในธรรม คำว่า ภควา สื่อถึงบุคคลที่มีความโชคดี โชคในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับความมั่งคั่งในทรัพย์ แต่หมายถึงผู้อุดมด้วยธรรม และความสง่างามแห่งพุทธธรรม ซึ่งเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสำรวม และพิจารณาอายตนะด้วย สติสัมปชัญญะ เพื่อไม่หลงไปในสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนกิเลส
๔. พระพุทธรูปองค์นี้ถูกออกแบบให้เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สื่อความหมายถึงการไม่มีหน้าไม่มีหลัง

ธรรมจักรคู่

ปริศนาธรรมของพระภควัมบดีสัมพันธ์กับธรรมจักรคู่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขององค์พระไม่มีหน้า ธรรมจักรคู่นี้เป็นสัญลักษณ์พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่พระพรหมวชิรากร (ประธานก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ) ได้เพิ่มเติมเอกลักษณ์พิเศษดังนี้
เมื่อสังเกตธรรมจักร จะเห็นว่าธรรมจักรทั้งคู่ประกอบด้วยวงแหวนต่างสี วงแหวนรอบนอกเป็นสีดำ ส่วนวงแหวนตรงกลางเป็นสีขาว วงแหวนสีดำด้านนอกสื่อถึงความทุกข์ แสดงถึงสภาวะของจักรวาลก่อนที่คำสอนของพระพุทธเจ้าจะปรากฏ ธรรมะอุบัติขึ้นท่ามกลางความทุกข์ระทมของสัตว์โลก แต่ในฐานะมนุษย์ เมื่อประสบปัญหา เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในสภาวะทุกข์ ด้วยการน้อมปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งนำไปสู่ความสว่าง สีขาวรอบธรรมจักรจึงสื่อถึงความสว่าง ความดี บุญกุศลที่ก่อเกิดคุณประโยชน์ การพ้นทุกข์ จากการปฏิบัติตามธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเราทุกคนควรยึดเป็นจุดหมาย เมื่อความชั่วร้ายและกิเลสทั้งหลายถูกลดละ โดยการเข้าถึงอริยสัจ ๔ ความมืดมนก็จะหมดสิ้นไป สุดท้ายผู้ปฏิบัติจะไปถึงสภาวะแห่งสุญญตา ความหลุดพ้น ซึ่งแสดงด้วยภาพอากาศที่ลอยเหนือธรรมจักรทั้งคู่ เหนือวงแหวนสีขาวและดำ