โซนที่ ๔
บันไดพญานาค

ระหว่างบันไดขึ้นลงสู่เจดีย์ศรีพุทธคยา ซึ่งเป็น highlight สำคัญของวัด ประกอบด้วยสถานที่น่าสนใจ ๔ แห่ง

สถานที่ปรินิพพาน

เป็นอาคารจำลองสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ อาคารนี้ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของบันไดพญานาค ตัวอาคารประกอบด้วยห้องโถงสองห้อง ห้องโถงด้านนอกประดิษฐานพระพุทธเจ้าปางปรินิพพาน กว้าง ๑.๒ เมตร ยาว ๒.๑๐ เมตร แกะสลักอย่างวิจิตรงดงามจากหินหยกขาว ห้องโถงด้านในของอาคารประดิษฐานรูปหล่อของบูรพาจารย์ผู้เป็นที่เคารพของพระพรหมวชิรากร (ประธานผู้ก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ)

บันไดพญานาค

บันไดพญานาคมีทั้งหมด ๑๙๙ ขั้น วัดระยะทางได้ทั้งสิ้น ๑๗๐ เมตร ราวบันไดทั้งสองข้างเป็นลำตัวของพญานาคเพศชายและเพศหญิง ปั้นตามแบบศิลปะอินเดียที่งดงามจำนวน ๔ คู่ หรือ ๘ ตัว นาคแต่ละตัวถือวัตถุมงคลอย่างละประการแตกต่างกันไป
ได้แก่ สังข์ ตะขอช้าง ตระบอง จักร อุณาโลม ธงสามชาย โคอุสุภราช และหม้อน้ำ เสมือนเหล่าพญานาคมาคอยต้อนรับผู้มาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์ศรีพุทธคยา บนภูเขาโพธิสัตว์ นอกเหนือจากนี้บันไดยังประกอบด้วยสัญลักษณ์ของสิบสองราศีที่วิจิตรงดงามด้วย

วิหารพระอุปคุตเข้าออกมงคล

หลังจากเดินขึ้นบันไดนาคไปประมาณครึ่งทาง จะมาถึงวิหารขนาดย่อมกลางสระน้ำเล็ก ๆ ท่านจะเห็นองค์พระ ๒ องค์นั่งหันหลังชนกัน รูปปั้นนั้นคือพระอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระอุปคุตมีบทบาทสำคัญในสมัยพระเจ้าอโศก
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระอรหันต์อุปคุตได้ปราบพญามารผู้มาขัดขวางพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกทรงได้รวบรวมขึ้นจากทั่วสารทิศ พระพรหมวชิรากร (ประธานสงฆ์ผู้ก่อสร้างวัด) ได้สร้างพระอุปคุตขึ้นเพื่อคุ้มครองสาธุชนผู้ที่จะผ่านไปมาให้เป็นมงคล พระอุปคุตจะช่วยขจัดอุปสรรค ให้ท่านทั้งหลายแคล้วคลาดจากภัยอันตร

เสาอโศก

เสาอโศกเป็นจุดพักชมวิว ซึ่งอยู่ถัดมาจากวิหารพระอุปคุต เป็นเสาหินทรายสูง ๙ เมตร ตัวฐานสูง ๒ เมตร ความยาวและความกว้างของฐานคือ ๑x๑.๕ เมตร ตัวฐานทั้ง ๔ ด้าน เป็นงานปฏิมากรรมภาพพุทธประวัติ ยอดเสาประกอบด้วยสิงห์โต และหน้าสิงห์ที่มองออกไปยังทิศทั้ง ๔ พุทธศิลป์ทั้งหมดนี้เป็นงานศิลปกรรมของอาจารย์พิชัย นิรมาน (ผู้ประดิษฐ์โมเดลช้างเอราวัณ ๓ เศียร ที่ตั้งอยู่จังหวัดสมุทรปราการ)
เสาอโศก สร้างขึ้นเพื่อย้อนรอยประวัติที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้เคยปฏิบัติมา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงฟื้นฟูศาสนาด้วยการสร้างเสาหินตามสังเวชนียสถานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญครั้งเมื่อพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพ ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เสาหินเหล่านั้นไม่เพียงแต่แสดงสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธ แต่ยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งธรรมะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญในสถานที่นั้น ๆ

สถานที่ปรินิพพาน

เป็นอาคารจำลองสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ อาคารนี้ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของบันไดพญานาค ตัวอาคารประกอบด้วยห้องโถงสองห้อง ห้องโถงด้านนอกประดิษฐานพระพุทธเจ้าปางปรินิพพาน กว้าง ๑.๒ เมตร ยาว ๒.๑๐ เมตร แกะสลักอย่างวิจิตรงดงามจากหินหยกขาว ห้องโถงด้านในของอาคารประดิษฐานรูปหล่อของบูรพาจารย์ผู้เป็นที่เคารพของพระพรหมวชิรากร (ประธานผู้ก่อสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ)

บันไดพญานาค

บันไดพญานาคมีทั้งหมด ๑๙๙ ขั้น วัดระยะทางได้ทั้งสิ้น ๑๗๐ เมตร ราวบันไดทั้งสองข้างเป็นลำตัวของพญานาคเพศชายและเพศหญิง ปั้นตามแบบศิลปะอินเดียที่งดงามจำนวน ๔ คู่ หรือ ๘ ตัว นาคแต่ละตัวถือวัตถุมงคลอย่างละประการแตกต่างกันไป
ได้แก่ สังข์ ตะขอช้าง ตระบอง จักร อุณาโลม ธงสามชาย โคอุสุภราช และหม้อน้ำ เสมือนเหล่าพญานาคมาคอยต้อนรับผู้มาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์ศรีพุทธคยา บนภูเขาโพธิสัตว์ นอกเหนือจากนี้บันไดยังประกอบด้วยสัญลักษณ์ของสิบสองราศีที่วิจิตรงดงามด้วย

วิหารพระอุปคุตเข้าออกมงคล

หลังจากเดินขึ้นบันไดนาคไปประมาณครึ่งทาง จะมาถึงวิหารขนาดย่อมกลางสระน้ำเล็ก ๆ ท่านจะเห็นองค์พระ ๒ องค์นั่งหันหลังชนกัน รูปปั้นนั้นคือพระอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระอุปคุตมีบทบาทสำคัญในสมัยพระเจ้าอโศก
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระอรหันต์อุปคุตได้ปราบพญามารผู้มาขัดขวางพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกทรงได้รวบรวมขึ้นจากทั่วสารทิศ พระพรหมวชิรากร (ประธานสงฆ์ผู้ก่อสร้างวัด) ได้สร้างพระอุปคุตขึ้นเพื่อคุ้มครองสาธุชนผู้ที่จะผ่านไปมาให้เป็นมงคล พระอุปคุตจะช่วยขจัดอุปสรรค ให้ท่านทั้งหลายแคล้วคลาดจากภัยอันตร

เสาอโศก

เสาอโศกเป็นจุดพักชมวิว ซึ่งอยู่ถัดมาจากวิหารพระอุปคุต เป็นเสาหินทรายสูง ๙ เมตร ตัวฐานสูง ๒ เมตร ความยาวและความกว้างของฐานคือ ๑x๑.๕ เมตร ตัวฐานทั้ง ๔ ด้าน เป็นงานปฏิมากรรมภาพพุทธประวัติ ยอดเสาประกอบด้วยสิงห์โต และหน้าสิงห์ที่มองออกไปยังทิศทั้ง ๔ พุทธศิลป์ทั้งหมดนี้เป็นงานศิลปกรรมของอาจารย์พิชัย นิรมาน (ผู้ประดิษฐ์โมเดลช้างเอราวัณ ๓ เศียร ที่ตั้งอยู่จังหวัดสมุทรปราการ)
เสาอโศก สร้างขึ้นเพื่อย้อนรอยประวัติที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้เคยปฏิบัติมา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงฟื้นฟูศาสนาด้วยการสร้างเสาหินตามสังเวชนียสถานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญครั้งเมื่อพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพ ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เสาหินเหล่านั้นไม่เพียงแต่แสดงสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธ แต่ยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งธรรมะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญในสถานที่นั้น ๆ