MENU
MENU
หน้าหลัก
๙ สถานที่สำคัญ
๖ โซนของวัด
การเยี่ยมชม
หนังสือนำเที่ยว: The Vessel of Light
ตารางเวลาและระเบียบปฏิบัติ
เกี่ยวกับวัด
ประวัติและกิจกรรมประจำปี
ภาพพิธีกรรม
งานสมโภชน์มกุฏพันธนเจดีย์
งานทอดกฐินประจำปี
23 ตุลาคม 2564
21 ตุลาคม 2565
งานอายุวัฒนมงคล 79 ปี
งานพิธีพระราชทานพัดยศ
พิธีวันสงกรานต์ 2565
จิตอาสาพระราชทาน
พิธีหล่อพระกริ่งพรหมวัชรินทร์
งานฉลองอายุศม์ธรรม ครบ 80 ปี
พิธีอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระกุศล
พิธีมอบรางวัลโครงการประกวดเรียงความประจำปี 2566
ธรรมยาตรา
ปฏิทิน 2023
คลังธรรมะ
เสียงเทศนาพระพรหมวชิรากร
บทสวดมนต์
บทความธรรมะ
พุทธสาวก
ปัญหาของผู้สงบ
วิดีโอธรรมะ
คลังธรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
หนังสือธรรมะพระพรหมวชิรากร
ร่วมทำบุญ
ไทย
English
ไทย
โซนที่ ๕
เจดีย์ศรีพุทธคยา
โซนนี้ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ๓ แห่ง ได้แก่
ประตูโทรณะ
ซุ้มประตูศิลาที่ตั้งอยู่หน้าเจดีย์ศรีพุทธคยาเรียกว่าประตูโทรณะ ถือเป็นประตูสู่อริยมรรค อันเป็นหนทางที่นำไปสู่การรู้แจ้ง และความหลุดพ้น ซึ่งมีเจดีย์ศรีพุทธคยาเป็นสัญลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชาวพุทธ ผู้ใดได้ผ่านประตูโทรณะนี้เข้ามา ก็หมายความว่าบุคคลผู้นั้นได้เริ่มย่างก้าวเข้าสู่หนทางแห่งการหลุดพ้นแล้ว
เจดีย์ศรีพุทธคยา
เจดีย์ศรีพุทธคยาหรือพุทธคยาน้อย คือสถานที่แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นจุดโดดเด่นสำคัญของวัดป่าสริวัฒนวิสุทธ์ ในพระองค์ ฯ สร้างขึ้นเพื่อรองรับวันวิสาขบูชาโลก เนื่องจากองค์การสหประชาชาติมีมติให้วันวิสาชบูชาเป็นวันสำคัญในฐานะวันแห่งสันติสุขของโลก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖o ปี ในปี ๒๕๔๙
เจดีย์ศรีพุทธคยาสร้างขึ้นโดยการจำลองรายละเอียดของเจดีย์องค์เดิมในพุทธคยา ด้วยความวิจิตรประณีต แต่ได้มีการเพิ่มเอกลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก เจดีย์พุทธคยาองค์เดิมในประเทศอินเดียมีความสูง ๕๖ เมตร แต่เจดีย์พุทธคยาน้อยนั้นสูง ๒๘ เมตร ความสูงดังกล่าวสื่อถึงพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ทรงบรรลุมรรคผลนิพพาน ประการที่สอง ยอดเจดีย์ศรีพุทธคยาของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธ์ ในพระองค์ ฯ หล่อด้วยบรอนซ์เนื้อสำริด เพื่อคงรูปแบบเดิมของยอดเจดีย์ที่ พุทธคยา
ปัจจุบันส่วนปลายของเจดีย์ในพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้เปลี่ยนเป็นทองคำ ประการสุดท้าย รูปปั้นพระพุทธรูปขนาดเล็กที่ประดับอยู่ด้านนอกของเจดีย์สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดียที่เข้ากันอย่างลงตัว
ชั้นแรกของเจดีย์ศรีพุทธคยา ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเมตตาสันติภาพ ลักษณะองค์พระจำลองมาจากองค์จริงภายในเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย แต่มีความแตกต่างที่ขนาด สี และลวดลายรอบฐานพระ พระพุทธเมตตาของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ มีหน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว สีขององค์พระเป็นสีบรอนซ์ พร้อมฐานพระประกอบด้วยแม่พระธรณีและสัตว์มงคลต่างๆของไทย ชั้นที่สองของเจดีย์ศรีพุทธคยา ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ ประดิษฐานพระศรีอาริยเมตไตรยศรีศากยสิงห์ พระพุทธเจ้าแห่งอนาคตกาล ชั้นนี้ประกอบด้วยระเบียงที่เป็นจุดชมวิว ๓๖๐ องศา ซึ่งเราสามารถมองเห็นทุ่งนาและป่าไม้ที่สวยงามจากจุดสูงสุดอันดับสองบนหุบเขาโพธิสัตว์
ลวดลายศิลปกรรมประดับเจดีย์ศรีพุทธคยา
ลวดลายภายนอกเจดีย์ศรีพุทธคยา ประดับด้วยพระพุทธรูปสีทองอร่าม และลวดลายปูนปั้นที่สร้างอย่างประณีตบรรจง ทรงคุณค่าแห่งวิจิตรศิลป์ สะท้อนถึงการผสมผสานศิลปะอินเดียและไทยได้อย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นแม้ว่าเจดีย์ศรีพุทธคยาจะเป็นการจำลองแบบมาจากของดั้งเดิมในอินเดีย แต่ก็มีเอกลักษณ์ของพุทธศิลป์ไทยอันวิจิตรบรรจงเช่นกัน ภายนอกด้านหลังเจดีย์ศรีพุทธคยาประดิษฐานพระผู้ไม่แพ้ พระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะจากหินทราย โดยองค์พระหันหน้าไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์สามต้นที่ปลูกจากเมล็ดของต้นโพธิ์จากพุทธคยา ในอินเดีย สังเวชนียสถานแห่งการตรัสรู้
ประตูโทรณะ
ซุ้มประตูศิลาที่ตั้งอยู่หน้าเจดีย์ศรีพุทธคยาเรียกว่าประตูโทรณะ ถือเป็นประตูสู่อริยมรรค อันเป็นหนทางที่นำไปสู่การรู้แจ้ง และความหลุดพ้น ซึ่งมีเจดีย์ศรีพุทธคยาเป็นสัญลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชาวพุทธ ผู้ใดได้ผ่านประตูโทรณะนี้เข้ามา ก็หมายความว่าบุคคลผู้นั้นได้เริ่มย่างก้าวเข้าสู่หนทางแห่งการหลุดพ้นแล้ว
เจดีย์ศรีพุทธคยา
เจดีย์ศรีพุทธคยาหรือพุทธคยาน้อย คือสถานที่แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นจุดโดดเด่นสำคัญของวัดป่าสริวัฒนวิสุทธ์ ในพระองค์ ฯ สร้างขึ้นเพื่อรองรับวันวิสาขบูชาโลก เนื่องจากองค์การสหประชาชาติมีมติให้วันวิสาชบูชาเป็นวันสำคัญในฐานะวันแห่งสันติสุขของโลก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖o ปี ในปี ๒๕๔๙
เจดีย์ศรีพุทธคยาสร้างขึ้นโดยการจำลองรายละเอียดของเจดีย์องค์เดิมในพุทธคยา ด้วยความวิจิตรประณีต แต่ได้มีการเพิ่มเอกลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก เจดีย์พุทธคยาองค์เดิมในประเทศอินเดียมีความสูง ๕๖ เมตร แต่เจดีย์พุทธคยาน้อยนั้นสูง ๒๘ เมตร ความสูงดังกล่าวสื่อถึงพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ทรงบรรลุมรรคผลนิพพาน ประการที่สอง ยอดเจดีย์ศรีพุทธคยาของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธ์ ในพระองค์ ฯ หล่อด้วยบรอนซ์เนื้อสำริด เพื่อคงรูปแบบเดิมของยอดเจดีย์ที่ พุทธคยา
ปัจจุบันส่วนปลายของเจดีย์ในพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้เปลี่ยนเป็นทองคำ ประการสุดท้าย รูปปั้นพระพุทธรูปขนาดเล็กที่ประดับอยู่ด้านนอกของเจดีย์สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดียที่เข้ากันอย่างลงตัว
ชั้นแรกของเจดีย์ศรีพุทธคยา ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเมตตาสันติภาพ ลักษณะองค์พระจำลองมาจากองค์จริงภายในเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย แต่มีความแตกต่างที่ขนาด สี และลวดลายรอบฐานพระ พระพุทธเมตตาของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ มีหน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว สีขององค์พระเป็นสีบรอนซ์ พร้อมฐานพระประกอบด้วยแม่พระธรณีและสัตว์มงคลต่างๆของไทย ชั้นที่สองของเจดีย์ศรีพุทธคยา ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ ประดิษฐานพระศรีอาริยเมตไตรยศรีศากยสิงห์ พระพุทธเจ้าแห่งอนาคตกาล ชั้นนี้ประกอบด้วยระเบียงที่เป็นจุดชมวิว ๓๖๐ องศา ซึ่งเราสามารถมองเห็นทุ่งนาและป่าไม้ที่สวยงามจากจุดสูงสุดอันดับสองบนหุบเขาโพธิสัตว์
ลวดลายศิลปกรรมประดับเจดีย์ศรีพุทธคยา
ลวดลายภายนอกเจดีย์ศรีพุทธคยา ประดับด้วยพระพุทธรูปสีทองอร่าม และลวดลายปูนปั้นที่สร้างอย่างประณีตบรรจง ทรงคุณค่าแห่งวิจิตรศิลป์ สะท้อนถึงการผสมผสานศิลปะอินเดียและไทยได้อย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นแม้ว่าเจดีย์ศรีพุทธคยาจะเป็นการจำลองแบบมาจากของดั้งเดิมในอินเดีย แต่ก็มีเอกลักษณ์ของพุทธศิลป์ไทยอันวิจิตรบรรจงเช่นกัน ภายนอกด้านหลังเจดีย์ศรีพุทธคยาประดิษฐานพระผู้ไม่แพ้ พระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะจากหินทราย โดยองค์พระหันหน้าไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์สามต้นที่ปลูกจากเมล็ดของต้นโพธิ์จากพุทธคยา ในอินเดีย สังเวชนียสถานแห่งการตรัสรู้
Copyrighted Siri Wattana Wisut Forest Monastery of Her Royal Highness
|
Theme
Quail