โซนที่ ๖
ยอดเขาโพธิสัตว์

ยอดเขาโพธิสัตว์ อันเป็นจุดสูงสุดของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ ประกอบด้วยจุดน่าสนใจ ๔ แห่ง ดังนี้

ธรรมจักรพร้อมฉัตรเก้าชั้น

ธรรมจักรนี้สร้างจากปูนปั้น ประกอบด้วยฉัตร ๙ ชั้น หล่อจากไทเทเนียม ฉัตร ๙ ชั้นสื่อถึงนวโลกุตรธรรม หรือมรรค และผลของมรรค ซึ่งนำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง คือพระนิพพาน

พระพุทธวัชรชัยบพิตร

พระพุทธวัชรชัยบพิตรเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัย สูง ๑๖ เมตรประทับอยู่บนยอดเขาโพธิสัตว์ ชื่อพระพุทธวัชรชัยบพิตรหมายถึงพระผู้ได้รับชัยชนะด้วยความมุ่งมั่นและพระทัยที่แข็งแกร่งดั่งเพชร พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ พระอุระของพระพุทธรูปบรรจุพระเกศาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระพุทธรูป “พระพุทธฤทัย” ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงอธิษฐานจิตบูชา เพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความเจริญรุ่งเรือง

ธัมเมกขสถูป

ธัมเมกขสถูป คือสถานที่ๆพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา อันเป็นที่มาของวันอาสาฬหบูชา ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขาวปางปฐมเทศนา เมื่อสมัยพุทธกาล หลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในขณะที่ฟังธรรมนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรมะ และพระสงฆ์) ขึ้น ธัมเมกขสถูป ของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ มีความสูง ๑๕ เมตรและกว้าง ๑๒ เมตร ภายในประดิษฐานเจดีย์หินอ่อนที่งดงาม ๕ องค์ ซึ่งจำลองมาจากเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระแก้วมรกต ต่างสี ๙ องค์ ธัมเมกขสถูปเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และได้สมโภช ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา

สถานที่ประสูติ

สถานที่ประสูติแสดงพุทธประวัติตอนประสูติ ประกอบด้วยองค์พระพุทธกุมาร และดอกบัวทอง ๗ ดอก ครั้งเมื่อพระพุทธมารดาทรงประชวรพระครรภ์หนัก ต้นสาละได้โน้มกิ่งลงมาเพื่อให้พระองค์เหนี่ยวพระหัตถ์ และเมื่อพระราชกุมารประสูติ พระองค์ได้ก้าวพระบาทออกไปเจ็ดก้าว ซึ่งเป็นบุพนิมิตบอกเหตุว่าพระองค์จะเสด็จโปรดสัตว์ใน ๗ แคว้น พุทธกุมารองค์นี้มีความแตกต่างสำคัญจากวัดอื่นๆ คือบนพระเศียรพระพุทธกุมารมีพระพุทธรูปปางสมาธิประดิษฐานอยู่ ซึ่งคือสัญลักษณ์ของโพธิญาณ หรือปัญญาที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมจักรพร้อมฉัตรเก้าชั้น

ธรรมจักรนี้สร้างจากปูนปั้น ประกอบด้วยฉัตร ๙ ชั้น หล่อจากไทเทเนียม ฉัตร ๙ ชั้นสื่อถึงนวโลกุตรธรรม หรือมรรค และผลของมรรค ซึ่งนำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง คือพระนิพพาน

พระพุทธวัชรชัยบพิตร

พระพุทธวัชรชัยบพิตรเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัย สูง ๑๖ เมตรประทับอยู่บนยอดเขาโพธิสัตว์ ชื่อพระพุทธวัชรชัยบพิตรหมายถึงพระผู้ได้รับชัยชนะด้วยความมุ่งมั่นและพระทัยที่แข็งแกร่งดั่งเพชร พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ พระอุระของพระพุทธรูปบรรจุพระเกศาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระพุทธรูป “พระพุทธฤทัย” ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงอธิษฐานจิตบูชา เพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความเจริญรุ่งเรือง

ธัมเมกขสถูป

ธัมเมกขสถูป คือสถานที่ๆพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา อันเป็นที่มาของวันอาสาฬหบูชา ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขาวปางปฐมเทศนา เมื่อสมัยพุทธกาล หลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในขณะที่ฟังธรรมนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรมะ และพระสงฆ์) ขึ้น ธัมเมกขสถูป ของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ มีความสูง ๑๕ เมตรและกว้าง ๑๒ เมตร ภายในประดิษฐานเจดีย์หินอ่อนที่งดงาม ๕ องค์ ซึ่งจำลองมาจากเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระแก้วมรกต ต่างสี ๙ องค์ ธัมเมกขสถูปเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และได้สมโภช ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา

สถานที่ประสูติ

สถานที่ประสูติแสดงพุทธประวัติตอนประสูติ ประกอบด้วยองค์พระพุทธกุมาร และดอกบัวทอง ๗ ดอก ครั้งเมื่อพระพุทธมารดาทรงประชวรพระครรภ์หนัก ต้นสาละได้โน้มกิ่งลงมาเพื่อให้พระองค์เหนี่ยวพระหัตถ์ และเมื่อพระราชกุมารประสูติ พระองค์ได้ก้าวพระบาทออกไปเจ็ดก้าว ซึ่งเป็นบุพนิมิตบอกเหตุว่าพระองค์จะเสด็จโปรดสัตว์ใน ๗ แคว้น พุทธกุมารองค์นี้มีความแตกต่างสำคัญจากวัดอื่นๆ คือบนพระเศียรพระพุทธกุมารมีพระพุทธรูปปางสมาธิประดิษฐานอยู่ ซึ่งคือสัญลักษณ์ของโพธิญาณ หรือปัญญาที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า